การเรียกร้องสิทธิสตรีผ่านหนัง สเก็ตติดฝันสู่วันใหม่ (Skater Girl)

การเรียกร้องสิทธิสตรีผ่านหนัง สเก็ตติดฝันสู่วันใหม่ (Skater Girl)

การเรียกร้องสิทธิสตรีผ่านหนัง สเก็ตติดฝันสู่วันใหม่ (Skater Girl)

มีหนังมากมายที่สะท้อนสังคมที่ไม่เท่าเทียมทุกเรื่องล้วนแล้วแต่แสดงให้เห็นเพียงความเจ็บปวด
จากความไม่เท่าเทียมนั้นหนัง สเก็ตติดฝันสู่วันใหม่ เรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องที่สะท้อนสังคมที่ไม่เท่าเทียมในสังคม หนัง เล่าถึงความเท่าเทียมในอินเดียที่ยังมีชนชั้นวรรณะ และห่างไกลมากกับคำว่า สิทธิสตรี โดยผ่านเด็กหญิงคนหนึ่งที่ขี้สงสัยและเธอมีความฝันเล็กๆ ที่ดูเหมือนจะธรรมดาในศตวรรษนี้ แต่การตัดสินใจของเธอกับเรื่องนี้มันไม่เล็กเลย เพรนา ลูกสาวของคนชนชั้นเรียกได้ว่าค่อนข้างที่จะต่ำในสังคมอินเดีย แต่เธอยังมีสิทธิ์ที่จะเรียนหนังสือได้ คุณจะได้เห็นการต่อสู้เพื่อคามฝันของเด็กหญิงคนนี้ผ่านการเล่นสเก็ต ใช่คุณอ่านไม่ผิดหรอกแค่การเล่นสเก็ตทำไมมันถึงได้สำคัญขนาดนั้น ก็เพราะในสังคมของอินเดียนั้นผู้ชายเป็นใหญ่ความเป็น Feminist คือการต่อต้านผู้ชายและความเชื่อ ผู้หญิงมีหน้าที่ทำอาหาร ทำงานบ้าน และทำตามคำสั่ง โลกแบบนี้คุณคิดว่ามันจะมีความสุขมากแค่ไหนกันกับคนที่มีความฝันว่าสักวันฉันจะต้องเป็นอิสระ จะเป็นยังไงกันถ้าวันหนึ่งสตรีที่ถูกกดขี่สามารถทำได้อย่างที่ใจต้องการ

เพรนา กับการเล่นสเก็ต จุดเริ่มต้นของการแสดงถึงสิทธิของสตรีใน สเก็ตติดฝันสู่วันใหม่

สเก็ตติดฝันสู่วันใหม่ เป็นเรื่องราวของ เพรนาสาวน้อยที่อาศัยอยู่ในชนบทอันแร้นแค้น แต่อย่างน้อยที่นี่ก็ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพอจะมีชาวต่างชาติมาเที่ยวอยู่บ้าง เพื่อหลีกหนีจากความวุ่นวายในเมืองใหญ่เจสซิก้าเป็นอีกคนที่เลือกมาพักร้อนในหมู่บ้านของเพรนาหนัง สะท้อนให้เห็นความต่างทางสังคมตั้งแต่ในหน่วยของสังคมที่เล็กที่สุดนั่นคือในครอบครัว ในโรงเรียน ผู้หญิงไม่มีสิทธิที่จะตัดสินใจ ผู้หญิงทำผิดเพียงน้อยนิดแต่กลับได้รับการลงโทษอย่างหนักนั่นคือความจริงของระบบชายเป็นใหญ่ เพรนาใช้ชีวิตตามที่พ่อของเธอต้องการจนกระทั่งเธอได้พบกับเจสซิก้า หญิงสาวที่มาจากลอนดอน เธอนำความแปลกใหม่มาสู่หมู่บ้านแห่งนี้ เริ่มจาการให้ชุดนักเรียนใหม่แก่เพรนา เจสซิก้าประหลาดใจ และรู้สึกสลดในใจกับล้อเลื่อนของเด็กๆ มาก มันมีหน้าตาคล้ายๆ สเก็ตแต่สภาพก็คือไม้กระดานกับล้อดีๆ นี่เอง เธอปลอบใจเด็กๆ ด้วยการวาดภาพสเก็ตของจริงให้กับเด็กๆ และโชคดีที่เธอมีเพื่อนที่เล่นสเก็ตบอร์ดเป็น เขาเอาสเก็ตบอร์ดมาด้วยและเพรนาก็ได้ลองเล่นสเก็ตเป็นครั้งแรก นอกจากนั้นเธอยังรู้สึกเป็นอิสระเมื่อได้อยู่บนสเก็ตเป็นความรู้สึกที่ทั้งชีวิตเธอพึ่งรู้สึกถึงมัน และนั่นก็คือจุดเปลี่ยนของชีวิตเธอ เจสซิก้าและเพื่อนของเธอตัดสินใจซื้อสเก็ตบอร์ดมาให้เด็กทุกคนในหมู่บ้าน พ่อของเพรนาโกรธมากถึงขั้นเผาสเก็ตนั้นทิ้งแถมยังเร่งรัดให้เพรนาแต่งงานโดยที่ไม่ถามเธอสักคำว่าเธอต้องการหรือไม่แต่เธอจะพูดอะไรได้ในสังคมเช่นนี้ เธอทำได้แค่ยอมรับชะตากรรม 

งานแต่งของเพรนาในที่สุดก็ถูกกำหนดขึ้นใน 7วัน เพรนาทำทุกอย่างเพียงแค่ตามที่พ่อสั่งเธอ
ทำตัวเหมือนร่างไร้วิญญาณ ในอีกด้านหนึ่งเจสซิก้าปรารถนาอย่างแรงกล้าว่าจะทำให้สเก็ตถูกยอมรับจากคนที่นี่ เธอไปขอให้คนที่ชาวบ้านเรียกว่า “รานี/ราชินี” ช่วยจัดงานแข่งขันขึ้นที่หมู่บ้านแห่งนี้ โดยงานจะถูกจัดขึ้นในวันที่เพรนาแต่งงาน และเมื่อถึงวันนั้นความรู้สึกของเพรนามาถึงจุดที่เธอทนไม่ได้อีกต่อไป เธอตัดสินใจหนีงานแต่งของตัวเองโดยมีน้องชายช่วย พ่อและแม่ของเธอก็ตามไปจนถึงงานและได้เห็นเธอไถสเก็ต ในตอนแรกพ่อของเธอจะเข้าไปต่อว่าเธอแต่แม่ของเธอได้ห้ามเขาไว้ เขาถึงได้รู้สึกว่าลูกผู้หญิงก็สามารถทำให้เขาภูมิใจได้ และไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดเลยถ้าลูกจะมีความสุขกับสิ่งที่เขาชอบ สเก็ตติดฝันสู่วันใหม่ เป็นหนังที่สอดแทรกแนวความคิดของ สิทธิสตรี เอาไว้ได้อย่างกลมกลืน

เรื่องราวของเด็กหญิงใน สเก็ตติดฝันสู่วันใหม่ เป็นภาพสะท้อนสังคมอินเดีย

หนัง สเก็ตติดฝันสู่วันใหม่ (Skater Girl) พอดูจบบ่อน้ำตาแตกเลยล่ะ ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันสังคมของอินเดียส่วนใหญ่ยังคงมีแนวความคิดชายเป็นใหญ่อยู่ นั่นอาจจะด้วยอิทธิพลทางศาสนา การเมืองที่ยังหยั่งรากลึกอยู่ในวัฒนธรรม แต่ว่าการเปิดกว้างต่อสตรีเองก็เริ่มมีแล้วเช่นกัน หนังเรื่องนี้เองที่ใช้คนไม่มากแถมยังไม่ใช่คนดังอะไรแต่สะท้อนเนื้อหาออกมาได้ดีมาก ไม่ควรพลาดจริงๆ สำหรับผลงานจาก Netflix เรื่องนี้ถ้าหากคุณคิดว่าชีวิตคุณกำลังมีปัญหาอะไรอยู่ หรือขาดความกล้าที่จะทำในสิ่งที่ชอบลองดูหนังเรื่องนี้บางทีคุณอาจจะได้แรงบันดาลใจหรือความกล้าจากเพรนาก็ได้นะ 

Like this article?

Leave a comment